วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2556

IP Address คืออะไร

  IP Address ย่อมาจากคำเต็มว่า Internet Protocal Address คือหมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องในระบบเครือข่ายที่ใช้โปรโตคอลแบบ TCP/IP 
ถ้าเปรียบเทียบก็คือบ้านเลขที่ของเรานั่นเอง ในระบบเครือข่าย จำเป็นจะต้องมีหมายเลข IP กำหนดไว้ให้กับคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อื่นๆ ที่ต้องการ IP ทั้งนี้เวลามีการโอนย้ายข้อมูล หรือสั่งงานใดๆ จะสามารถทราบตำแหน่งของเครื่องที่เราต้องการส่งข้อมูลไป จะได้ไม่ผิดพลาดเวลาส่งข้อมูล ซึ่งประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุด มีเครื่องหมายจุดขั้นระหว่างชุด  เช่น 192.168.100.1 หรือ 172.16.10.1  เป็นต้น  โดยหมายเลข IP Address ของเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะมีค่าไม่ซ้ำกัน สิ่งตัวเลข 4 ชุดนี้บอก คือ Network ID กับ Host ID ซึ่งจะบอกให้รู้ว่า เครื่อง computer ของเราอยู่ใน network ไหน และเป็นเครื่องไหนใน network นั้น เราจะรู้ได้อย่างไรว่า Network ID และ Host ID มีค่าเท่าไหร่ ก็ขึ้นอยู่กับว่า IP Address นั้น อยู่ใน class อะไร 
       เหตุที่ต้องมีการแบ่ง class ก็เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบ เป็นการแบ่ง IP Address ออกเป็นหมวดหมู่นั้นเอง สิ่งที่จะเป็นตัวจำแนก class ของ network ก็คือ bit ทางซ้ายมือสุดของตัวเลขตัวแรกของ IP Address (ที่แปลงเป็นเลขฐาน 2 แล้ว) นั่นเอง โดยที่ถ้า bit ทางซ้ายมือสุดเป็น 0 ก็จะเป็น class A ถ้าเป็น 10 ก็จะเป็น class B ถ้าเป็น 110 ก็จะเป็น class C ดังนั้น IP Address จะอยู่ใน class A ถ้าตัวเลขตัวแรกมีค่าได้ตั้งแต่ 0 ? 127 (000000002 ? 011111112) จะอยู่ใน class B ถ้าเลขตัวแรกมีค่าตั้งแต่ 128 ? 191 (100000002 ? 101111112) และ จะอยู่ใน class C ถ้าเลขตัวแรกมีค่าตั้งแต่ 192 - 223 (110000002 ? 110111112) มีข้อยกเว้นอยู่นิดหน่อยก็คือตัวเลข 0, 127 จะใช้ในความหมายพิเศษ จะไม่ใช้เป็น address ของ network ดังนั้น network ใน class A จะมีค่าตัวเลขตัวแรก ในช่วง 1 ? 126 
       สำหรับตัวเลขตั้งแต่ 224 ขึ้นไป จะเป็น class พิเศษ  อย่างเช่น  Class D ซึ่งถูกใช้สำหรับการส่งข้อมูลแบบ Multicast ของบาง Application และ Class E ซึ่ง Class นี้เป็น Address ที่ถูกสงวนไว้ก่อน ยังไม่ถูกใช้งานจริง ๆ  โดย Class D และ Class E นี้เป็น Class พิเศษ ซึ่งไม่ได้ถูกนำมาใช้งานในภาวะปกติ

    ตัวอย่าง IP Address
    Class A ตั้งแต่ 10.xxx.xxx.xxx
    Class B ตั้งแต่ 172.16.xxx.xxx ถึง 172.31.xxx.xxx
    Class C ตั้งแต่ 192.168.0.xxx ถึง 192.168.255.xxx 


       จาก IP Address เราสามารถที่จะบอก ได้คร่าวๆ ว่า computer 2 เครื่องอยู่ใน network วงเดียวกันหรือเปล่าโดยการเปรียบเทียบ Network ID ของ IP Address ถ้ามี Network ID ตรงกันก็แสดงว่าอยู่ใน network วงเดียวกัน เช่น computer เครื่องหนึ่งมี IP Address 1.2.3.4 จะอยู่ใน network วงเดียวกับอีกเครื่องหนึ่งซึ่งมี IP Address 1.100.150.200 เนื่องจากมี Network ID ตรงกันคือ 1 (class A ใช้ Network ID 1 byte) 

    วิธีตรวจสอบ IP Address
    1.คลิกปุ่ม Start เลือก Run
    2.พิมพ์คำว่า cmd กดปุ่ม OK
    3.จะได้หน้าต่างสีดำ
    4.พิมพ์คำว่า ipconfig กด enter
    5.จะเห็นกลุ่มหมายเลข IP Address

ตัวอย่าง IP AddressIP Address นี้จะแบ่งได้เป็น 5 ระดับ (Class) 

ที่ใช้งานโดยทั่วไปจะมีเพียง 3 ระดับคือ Class A, 



Class B, Class C ซึ่งจะแบ่งตามขนาดของเครือข่ายนั่นเอง
 ถ้าเครือข่ายนั้นมีจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่มากก็จะจัดอยู่ใน
Class A ถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์ลดหลั่นกันลงมาก็จะจัดอยู่ใน
Class B, Class C ตามลำดับ


localhost

ชื่อแม่ข่ายมาตรฐานที่กำหนดให้กับตำแหน่งของส่วนต่อประสานเครือข่ายวง
ย้อนกลับ (loopback) เมื่อผู้ใช้ส่งข้อมูลไปยังโลเคิลโฮสต์ 
พวกเขาจะได้รับข้อมูลของตัวเองกลับมา หรือพูดอีกนัยหนึ่งคือ 
เครื่องคอมพิวเตอร์ตัวมันเอง กลไกนี้มีประโยชน์สำหรับโปรเเกรมเมอร์
เพื่อทดสอบระหว่างการพัฒนาซอฟต์แวร์ นอกจากนี้โลเคิลโฮสต์ก็เป็นชื่อที่สงวน
ไว้สำหรับโดเมนระดับบนสุด (.localhost) ซึ่งสำรองไว้เพื่อหลีกเลี่ยง
ความสับสนกับการนิยามที่แคบกว่าของชื่อแม่ข่าย


Subnet Mask จะประกอบด้วยส่วนประกอบ 3 ส่วนคือ
  1. Network ID ใช้สำหรับแยกส่วนที่เป็น Network ID ออกจาก IP Address มีค่าเป็น 1 ทุก bit
  2. Subnet ID ใช้สำหรับแยก subnet ของ network มีค่าเป็น 1 ทุก bit
  3. Host ID ใช้สำหรับแยกส่วนที่เป็น Host ID ออกจาก IP Address มีค่าเป็น 0 ทุก bit


หน้าที่ของSubnet Mask
การช่วยในการแยกแยะว่าส่วนใดภายในหมายเลข IP Address เป็น Network Address และส่วนใดเป็นหมายเลข Host Address ดังนั้น ท่านจะสังเกตได้ว่า เมื่อเราระบุ IP Address ให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์์ เราจำเป็นต้องระบุ Subnet mask ลงไปด้วยทุกครั้ง  OSI (Open Systems Interconnection) เป็นคำอธิบายมาตรฐาน หรือ "reference model" (แบบจำลองอ้างอิง) สำหรับวิธีการส่งผ่านข่าวสารระหว่างจุด 2 จุดในเครือข่ายการสื่อสาร วัตถุประสงคือ เป็นการแนะนำการสร้างผลิตภัณฑ์ สามารถทำงานร่วมกับผลิตภัณฑ์อื่น แบบจำลองอ้างอิงกำหนดเป็น 7 เลเยอร์ ของการทำงานที่เกิดขึ้นที่ จุดปลายของการสื่อสาร ถึงแม้ว่า OSI จะไม่เข้มงวดใน ด้านการรักษาความสัมพันธ์ กับฟังก์ชันอื่นในเลเยอร์ที่กำหนด แต่ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ ในด้านโทรคมนาคมพยายาม ที่จะกำหนดตัวเองให้สัมพันธ์ กับแบบจำลอง OSI ซึ่งเป็นประโยชน์ในฐานะ การอ้างอิงแบบเดียว ในด้านการสื่อสาร มีผลทำให้ทุกคนมีบรรทัดเดียวกันในการศึกษาและแลกเปลี่ยน

OSI มีจุดเริ่มต้นในการข้อมกำหนดรายละเอียดของการอินเตอร์เฟซ ซึ่งมีการพัฒนาโดยตัวแทนของบริษัทคอมพิวเตอร์ และโทรคมนาคมรายใหญ่ในปี 1983 

Upper layers โดยทั่วไปจะเป็นส่วนที่พัฒนาใน Software Application โดยประกอบด้วย Application Layer, Presentation Layer และ Session Layer
Lower Layer จะเป็นส่วนที่ทำหน้าที่ในการสื่อสารข้อมูลซึ่งอาจจะพัฒนาได้ทั้งแบบเป็น Software และ Hardware


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น