วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2556

การเข้าหัว RJ45 กับสาย UTP

การเข้าหัว RJ45 กับสาย UTP

การจัดเรียงสายมี 2 แบบ
1. สายแบบตรง   สายสัญญาณแบบ Straight-through คือการต่อสายสัญญาณที่เหมือนกันทั้งสองด้าน อาจจะเป็นแบบ 568A ทั้งสองด้าน หรือแบบ 568B ทั้งสองด้านก็ได้ จะใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างชนิดกัน



2.สายไขว้  การเลือกมาตรฐานแบบใดแบบหนึ่งเป็นหัวข้างหนึ่ง ส่วนหัวอีกข้างหนึ่งก็เป็นอีกมาตรฐานหนึ่ง อาจเริ่มต้นด้วยแบบ T568A แล้วอีกข้างเป็น T568B หรือสลับกันก็ได้ โดยหัวทั้งสองข้างต้องเรียงสายไม่เหมือนกัน ใช้ในลักษณะการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ชนิดเดียวกัน



การเชื่อมต่อเครือข่าย ด้วย switch hub


การแชร์ข้อมูลระหว่างกันของคอมพิวเตอร์ เป็นวิธีการที่ง่ายที่สุดสำหรับการรับหรือส่งข้อมูลภายในเครือข่าย เพราะมันทำให้เราสามารถประหยัดเวลาและสรรพยากรณ์เป็นอย่างมาก ไม่ต้องเสียเวลาเดินไปเดินมาในการคัดลอกข้อมูลหรือใช้อุปกรณ์อย่างเช่น แฮนดี้ไดร์ฟ ในการกอปปี่ข้อมูล  หรือหากคุณรู้สึกอยากจะดูหนังแต่หนังนั้นไปอยู่ในคอมฯอีกเครื่องหนึ่งคุณก็สามารถดุได้เลยโดยไม่ต้องคัดลอกมันมามาใส่ในคอมพิวเตอร์ของคุณ วันนี้ ITClickme จะเสนอทิปในการแชร์ข้อมูลว่าต้องทำอย่างไร ซึ่งทิปนี้ใช้ในการตั้งค่าในคอมพิวเตอร์ที่ใช้ วินโดว์ 7  แต่คุณสามารถที่จะแชร์ไฟล์ระหว่าง win7 กับ win xp ได้เช่นเดียวกัน ถ้าพร้อมแล้วไปกันเลยครับ 
1. ขั้นแรกเราต้องกำหนดการอนุญาติของวินโดว์ก่อนโดยไปที่ Control Panel > Network and Internet >Network and Sharing Center 

2.  เมื่อปรากฏหน้าต่างนี้ขึ้นมาให้คลิกที่ Change advanced sharing setting 


3. ในส่วนของ Public (current profile) ให้ติ๊กเครื่องหมายตามช่องที่เห็นในรูป เมื่อถูกต้องแล้วให้กด Save changes ในส่วนนี้เป็นการกำหนดการอนุญาติซึ่งทำครั้งเดียวเองครับเมื่อคุณต้องการแชรืไฟลือื่นก้ไม่ต้องมาตั้งค่าตรงนี้อีกแล้วครับ

4. ต่อไปนี้เป็นวิธีการแชร์ไฟล์ครับ ไปที่โฟลเดอร์หรือไฟล์ที่เราต้องการจะแชร์ครับ ผมแนะนำให้แชร์ที่โฟลเดอร์ครับเพราะขั้นตอนจะง่ายกว่า คลิกขวาที่โฟลเดอร์ที่ต้องการจะแชร์ เลือก Share with จากนั้นเลือก Specific people



5. จะปรากฏหน้าต่างนี้ขึ้นมาให้กดลูกศรลงแล้วเลือก Everyone ซึ่งเป็นการแชร์ให้ทั้งหมดในเครือข่ายของเราแต่หากคุณต้องการแชร์เป็นกลุ่มเล็กคุณก็สามารถเลือกสร้างกลุ่มขึ้นมาเองได้ แต่ในที่นี้แนะนำให้เลือก Everyone เพราะขั้นตอนจะง่ายกว่า เมื่อเลือกแล้วกด Add ครับ 


6. จากนั้นเลือก Everyone อีกครั้ง แล้วก็คลิก Read เพื่อให้คนที่รับข้อมูลจากเราสามรถดูได้อย่างเดียว หากคุณต้องการให้คนที่แชร์ไฟล์กับเรา แก้ไขหรือลบละก็เลือก Read/Write แต่ผมแนะนำให้เลือก Read พอครับ ให้คนที่เราแชร์ไฟล์ไป ดูหรืออ่านได้อย่างเดียว เมื่อเลือกแล้ว กด Share 
เสร็จแล้วขั้นตอนในการแชร์ไฟล์ ต่อไปเป็นการดูไฟลืที่เราได้แชร์จากเครื่องคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่ง ก่อนอื่นต้องแน่ใจก่อนว่าคอมพิวเตอร์ทั้งสองเครื่องเชื่อมไวเลสหรือสายแลนอยู่


1.  ขั้นแรกให้ไปที่ Network แล้วดับเบิลเลือกชื่อเครื่องที่เราได้แชร์ไฟล์เอาไว้


2. จากนั้นคุณก็จะเห็นโฟล์เดอร์ที่ถูกแชร์อยู่จากคอมพิวเตอร์เครื่องที่เราแชร์ไว้  เท่านี้คุณก็สามารถอ่านไฟล์ ดูหนัง ฟังเพลง จากคอมพิวเตอร์อีกเครื่องโดยไม่ต้องกอปปี่มาใส่ไว้ในเครื่องคุณเองแล้วครับ






IP Address คืออะไร

  IP Address ย่อมาจากคำเต็มว่า Internet Protocal Address คือหมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องในระบบเครือข่ายที่ใช้โปรโตคอลแบบ TCP/IP 
ถ้าเปรียบเทียบก็คือบ้านเลขที่ของเรานั่นเอง ในระบบเครือข่าย จำเป็นจะต้องมีหมายเลข IP กำหนดไว้ให้กับคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อื่นๆ ที่ต้องการ IP ทั้งนี้เวลามีการโอนย้ายข้อมูล หรือสั่งงานใดๆ จะสามารถทราบตำแหน่งของเครื่องที่เราต้องการส่งข้อมูลไป จะได้ไม่ผิดพลาดเวลาส่งข้อมูล ซึ่งประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุด มีเครื่องหมายจุดขั้นระหว่างชุด  เช่น 192.168.100.1 หรือ 172.16.10.1  เป็นต้น  โดยหมายเลข IP Address ของเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะมีค่าไม่ซ้ำกัน สิ่งตัวเลข 4 ชุดนี้บอก คือ Network ID กับ Host ID ซึ่งจะบอกให้รู้ว่า เครื่อง computer ของเราอยู่ใน network ไหน และเป็นเครื่องไหนใน network นั้น เราจะรู้ได้อย่างไรว่า Network ID และ Host ID มีค่าเท่าไหร่ ก็ขึ้นอยู่กับว่า IP Address นั้น อยู่ใน class อะไร 
       เหตุที่ต้องมีการแบ่ง class ก็เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบ เป็นการแบ่ง IP Address ออกเป็นหมวดหมู่นั้นเอง สิ่งที่จะเป็นตัวจำแนก class ของ network ก็คือ bit ทางซ้ายมือสุดของตัวเลขตัวแรกของ IP Address (ที่แปลงเป็นเลขฐาน 2 แล้ว) นั่นเอง โดยที่ถ้า bit ทางซ้ายมือสุดเป็น 0 ก็จะเป็น class A ถ้าเป็น 10 ก็จะเป็น class B ถ้าเป็น 110 ก็จะเป็น class C ดังนั้น IP Address จะอยู่ใน class A ถ้าตัวเลขตัวแรกมีค่าได้ตั้งแต่ 0 ? 127 (000000002 ? 011111112) จะอยู่ใน class B ถ้าเลขตัวแรกมีค่าตั้งแต่ 128 ? 191 (100000002 ? 101111112) และ จะอยู่ใน class C ถ้าเลขตัวแรกมีค่าตั้งแต่ 192 - 223 (110000002 ? 110111112) มีข้อยกเว้นอยู่นิดหน่อยก็คือตัวเลข 0, 127 จะใช้ในความหมายพิเศษ จะไม่ใช้เป็น address ของ network ดังนั้น network ใน class A จะมีค่าตัวเลขตัวแรก ในช่วง 1 ? 126 
       สำหรับตัวเลขตั้งแต่ 224 ขึ้นไป จะเป็น class พิเศษ  อย่างเช่น  Class D ซึ่งถูกใช้สำหรับการส่งข้อมูลแบบ Multicast ของบาง Application และ Class E ซึ่ง Class นี้เป็น Address ที่ถูกสงวนไว้ก่อน ยังไม่ถูกใช้งานจริง ๆ  โดย Class D และ Class E นี้เป็น Class พิเศษ ซึ่งไม่ได้ถูกนำมาใช้งานในภาวะปกติ

    ตัวอย่าง IP Address
    Class A ตั้งแต่ 10.xxx.xxx.xxx
    Class B ตั้งแต่ 172.16.xxx.xxx ถึง 172.31.xxx.xxx
    Class C ตั้งแต่ 192.168.0.xxx ถึง 192.168.255.xxx 


       จาก IP Address เราสามารถที่จะบอก ได้คร่าวๆ ว่า computer 2 เครื่องอยู่ใน network วงเดียวกันหรือเปล่าโดยการเปรียบเทียบ Network ID ของ IP Address ถ้ามี Network ID ตรงกันก็แสดงว่าอยู่ใน network วงเดียวกัน เช่น computer เครื่องหนึ่งมี IP Address 1.2.3.4 จะอยู่ใน network วงเดียวกับอีกเครื่องหนึ่งซึ่งมี IP Address 1.100.150.200 เนื่องจากมี Network ID ตรงกันคือ 1 (class A ใช้ Network ID 1 byte) 

    วิธีตรวจสอบ IP Address
    1.คลิกปุ่ม Start เลือก Run
    2.พิมพ์คำว่า cmd กดปุ่ม OK
    3.จะได้หน้าต่างสีดำ
    4.พิมพ์คำว่า ipconfig กด enter
    5.จะเห็นกลุ่มหมายเลข IP Address

ตัวอย่าง IP AddressIP Address นี้จะแบ่งได้เป็น 5 ระดับ (Class) 

ที่ใช้งานโดยทั่วไปจะมีเพียง 3 ระดับคือ Class A, 



Class B, Class C ซึ่งจะแบ่งตามขนาดของเครือข่ายนั่นเอง
 ถ้าเครือข่ายนั้นมีจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่มากก็จะจัดอยู่ใน
Class A ถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์ลดหลั่นกันลงมาก็จะจัดอยู่ใน
Class B, Class C ตามลำดับ


localhost

ชื่อแม่ข่ายมาตรฐานที่กำหนดให้กับตำแหน่งของส่วนต่อประสานเครือข่ายวง
ย้อนกลับ (loopback) เมื่อผู้ใช้ส่งข้อมูลไปยังโลเคิลโฮสต์ 
พวกเขาจะได้รับข้อมูลของตัวเองกลับมา หรือพูดอีกนัยหนึ่งคือ 
เครื่องคอมพิวเตอร์ตัวมันเอง กลไกนี้มีประโยชน์สำหรับโปรเเกรมเมอร์
เพื่อทดสอบระหว่างการพัฒนาซอฟต์แวร์ นอกจากนี้โลเคิลโฮสต์ก็เป็นชื่อที่สงวน
ไว้สำหรับโดเมนระดับบนสุด (.localhost) ซึ่งสำรองไว้เพื่อหลีกเลี่ยง
ความสับสนกับการนิยามที่แคบกว่าของชื่อแม่ข่าย


Subnet Mask จะประกอบด้วยส่วนประกอบ 3 ส่วนคือ
  1. Network ID ใช้สำหรับแยกส่วนที่เป็น Network ID ออกจาก IP Address มีค่าเป็น 1 ทุก bit
  2. Subnet ID ใช้สำหรับแยก subnet ของ network มีค่าเป็น 1 ทุก bit
  3. Host ID ใช้สำหรับแยกส่วนที่เป็น Host ID ออกจาก IP Address มีค่าเป็น 0 ทุก bit


หน้าที่ของSubnet Mask
การช่วยในการแยกแยะว่าส่วนใดภายในหมายเลข IP Address เป็น Network Address และส่วนใดเป็นหมายเลข Host Address ดังนั้น ท่านจะสังเกตได้ว่า เมื่อเราระบุ IP Address ให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์์ เราจำเป็นต้องระบุ Subnet mask ลงไปด้วยทุกครั้ง  OSI (Open Systems Interconnection) เป็นคำอธิบายมาตรฐาน หรือ "reference model" (แบบจำลองอ้างอิง) สำหรับวิธีการส่งผ่านข่าวสารระหว่างจุด 2 จุดในเครือข่ายการสื่อสาร วัตถุประสงคือ เป็นการแนะนำการสร้างผลิตภัณฑ์ สามารถทำงานร่วมกับผลิตภัณฑ์อื่น แบบจำลองอ้างอิงกำหนดเป็น 7 เลเยอร์ ของการทำงานที่เกิดขึ้นที่ จุดปลายของการสื่อสาร ถึงแม้ว่า OSI จะไม่เข้มงวดใน ด้านการรักษาความสัมพันธ์ กับฟังก์ชันอื่นในเลเยอร์ที่กำหนด แต่ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ ในด้านโทรคมนาคมพยายาม ที่จะกำหนดตัวเองให้สัมพันธ์ กับแบบจำลอง OSI ซึ่งเป็นประโยชน์ในฐานะ การอ้างอิงแบบเดียว ในด้านการสื่อสาร มีผลทำให้ทุกคนมีบรรทัดเดียวกันในการศึกษาและแลกเปลี่ยน

OSI มีจุดเริ่มต้นในการข้อมกำหนดรายละเอียดของการอินเตอร์เฟซ ซึ่งมีการพัฒนาโดยตัวแทนของบริษัทคอมพิวเตอร์ และโทรคมนาคมรายใหญ่ในปี 1983 

Upper layers โดยทั่วไปจะเป็นส่วนที่พัฒนาใน Software Application โดยประกอบด้วย Application Layer, Presentation Layer และ Session Layer
Lower Layer จะเป็นส่วนที่ทำหน้าที่ในการสื่อสารข้อมูลซึ่งอาจจะพัฒนาได้ทั้งแบบเป็น Software และ Hardware


การเชื่อมต่อเครือข่ายด้วย TeamViewer 8

การติดตั้ง TeamViewer
การติดตั้ง TeamViewer นั้นมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. ดับเบิลคลิกที่ไฟล์ TeamViewer_Setup.exe (หากโปแกรมป้องกันไวรัสถามแจ้งเตือนให้คลิก Skip หรือ Permit)
2. ในหน้า Welcome to TeamViewer ให้เลือก Install และเลือกเช็คบ็อกซ์ Show Advanced settings เสร็จแล้วคลิก Next


3. ในหน้า Environment ให้เลือกเป็น personal /non-commercial use เสร็จแล้วคลิก Next


4. ในหน้า License Agreement ให้เลือกลือกเช็คบ็อกซ์ I accept the terms in the License Agreement และเช็คบ็อกซ์ I agree thw I will only use TeamViewer for non-commercial and private use เสร็จแล้วคลิก Next


5. ในหน้า Choose installation type แนะนำให้เลือกเป็น Start automatically with Windows และให้ใส่รหัสผ่านในกล่อง Password: และ Confirm password: เหมือนกัน 2 ครั้ง เสร็จแล้วคลิก Next


6. ในหน้า Install VPN adapter ให้คลิก Next
7. ในหน้า Choose Installation Location ให้คลิก Next เพื่อใช้ค่าที่โปรแกรมกำหนดให้ หากต้องการกำหนดเองให้ใส่พาธเต็มของโฟลเดอร์ที่จะใช้ในการติดตั้งหรือคลิ กปุ่ม Browse แล้วเลือกโฟลเดอร์ที่ต้องการ เสร็จแล้วคลิก Next


8. ในหน้า Choose Start menu Folder ให้คลิก Next เพื่อใช้ค่าที่โปรแกรมกำหนดให้ แล้วคลิก Install


9. ในหน้า Completeing the TeamViewer 3 Setup Wizard ให้คลิก Finish 








การตั้งค่าบนเครื่อง TeamViewer
หลัง จากทำการติดตั้งเสร็จแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการคอนฟิกการเชื่อมต่อ ซึ่งจะมีอยู่ 2 กรณี คือ การใช้งานผ่านทางแลนและการใช้งานผ่านทางอินเทอร์เน็ต

• การใช้งานผ่านทางแลน
โดยดีฟอลท์ TeamViewer จะไม่เปิดการใช้งานผ่านทางแลน โดยจะต้องทำการคอนฟิก ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. เปิดโปรแกรม TeamViewer โดยการดับเบิลคลิดไอคอนโปรแรกมบนเดสก์ท็อปหรือคลิกที่ไอคอนที่แอยู่บนถาดระบบ
2. ในหน้าต่างโปรแกรม TeamViewer คลิก Extra แล้วคลิก Options


3. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ TeamViewer Options ในส่วน Connection คลิกเลือกเช็คบ็อกซ์ Accept incoming LAN connections เสร็จแล้วคลิก OK


4. ในหน้าต่างโปรแกรม TeamViewer ให้คลิกปุ่ม Minimize เพื่อจบการทำงาน

• การใช้งานผ่านทางอินเทอร์เน็ต
โดย ดีฟอลท์ TeamViewer จะเปิดการใช้งานผ่านทางอินเทอร์เน็ตโดยอัตโนมัติ และคอนฟิกให้ใช้พร็อกซีเซิร์ฟเวอร์ของเว็บบราวเซอร์ อย่างไรก็ตามสำหรับในองค์กรที่การออกอินเทอร์เน็ตผ่านพร็อกซีเซิร์ฟเวอร์ทำ การออเท็นติเคชัน จะต้องทำการคอนฟิกเพิ่มเติมตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

1. เปิดโปรแกรม TeamViewer โดยการดับเบิลคลิดไอคอนโปรแรกมบนเดสก์ท็อปหรือคลิกที่ไอคอนที่แอยู่บนถาดระบบ
2. ในหน้าต่างโปรแกรม TeamViewer คลิก Extra แล้วคลิก Options
3. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ TeamViewer Options ในส่วน Connection คลิกปุ่ม Proxy settings...
4. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Proxy Settings ให้เลือกเป็น Use mannual proxy: แล้วใส่หมายเลขไอพีของพร็อกซีเซิร์ฟเวอร์ในกล่อง Proxy IP: ใส่หมายเลขพอร์ตของพร็อกซีเซิร์ฟเวอร์ในกล่อง Port: และใช้ชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านในช่อง Username และ Password ตามลำดับ เสร็จแล้วคลิก OK


5. เสร็จแล้วคลิก OK
6. ในหน้าต่างโปรแกรม TeamViewer ให้คลิกปุ่ม Minimize เพื่อจบการทำงาน

เริ่มต้นใช้งาน TeamViewer
หลังจากทำการคอนฟิกเครื่อง TeamViewer ต้นทางเสร็จเรียบร้อยแล้ว บนเครื่องปลายทางให้รันโปรแกรม TeamViewer ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

1. ดับเบิลคลิกที่ไฟล์ TeamViewer_Setup.exe
2. ในหน้า Welcome to TeamViewer ให้เลือก Run เสร็จแล้วคลิก Next
3. ในหน้า License Agreement ให้เลือกลือกเช็คบ็อกซ์ I accept the terms in the License Agreement เสร็จแล้วคลิก Next

4. ในหน้าต่างโปรแกรม TeamViewer ในส่วน Create Session ให้ใส่หมายเลขไอพีของเครื่องที่ต้องการเชื่อมต่อโดย Remote Desktop แล้วคลิกปุ่ม Connect to partner

5. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ TeamViewer Authentication ให้ใส่รหัสผ่านที่กำหนดในขั้นตอน "การใช้งานผ่านทางแลน" ด้านบน แล้วคลิกปุ่ม Log On

6. หลังจากทำการ Log On เสร็จก็สามารถใช้งานต่างๆ เหมือนกับการนั่งทำงานหน้าเครื่อง
7. หากไม่ต้องการใช้งานต่อให้ Disconnect โดยการคลิกที่ไอคอนเครื่องหมายกากบาท







การconnect ด้วย wifi

การ Connect ด้วยสาย wireless

กำหนดค่าของคอมสองเครื่องดังภาพต่อไปนี้ 


1.เข้าไปที่ control  panel  เเล้วเลือก window firewall 

2.เมื่อเลือก  window firewall  จะปรากฎหน้าต่างของ window firewall ให้เลือก Turn window firewall  on or off เพื่อทำการปิด window firewall 


3. เมื่ือเข้ามาหน้าต่างของ Turn window firewall  on or off เเล้ว ให้ทำการปิด  firewall  โดยเลือก ปิด firewall  ตามภาพ เพื่อทำการปิด firewall 


4.กลับมาหน้า  window firewall อีกครั้ง เเล้วเลือก Allow program All feature through  window firewall

5. เมื่อเลือกAllow program All feature through  window firewall จะปรกฎหน้าต่าง Allowed program ให้เลือก File and Printer Sharing  เเล้วกด OK เเล้วกลับไปยังหน้า  window firewall

6. เลือก Network and Sharing Canter


 7 เลือก HomeGroup

8. เมื่อปรากฏหน้าจอ Home Group  ให้เลือก change advanced charing setting

9.เลือกTurn on network discovery เเล้วเลือก Turn on file and printer sharing  เเละ   Turn on sharing so  anyone network access read and write files in the public folders


10. เลือก use 128- bit encryption to halp protect file sharing connection (recommended) เเล้ว save changes

11. เมื่อ กำหนดค่าต่างไเสร็จเราก็จะทำการเเชร์ ไดร์ กัน ครับ เข้าไปที่ my computer  คลิกขวา ไดร์ D เเล้กด properties > จะปรากฎหน้าต่างดังภาพเเล้วกดเลือก sharing  เเล้วเลือก Advanced Sharing



12. เลือก share folder > Permissions ตามลำดับ


13. เลือก Full Control ,Change, Read ตามภาพ เเล้วกด OK ก็สามารถ เชื่อมต่อเข้าหากันได้เเล้ว

เมื่อทำการกำหนดค่าดังกล่าวเสร็จก็ทำการ Connect ต่อ


เข้ามาหน้า network and sharing canter  > เเล้วเลือก set up  a new connection or network


คลิกเลือก set up a wireless ad hoc (computer-to-computer) network เเล้วกด next


จะปรากฎหน้าจอ  set up an ad hoc network > เเล้ว กด next


เมื่อกด next เเล้วจะปรากฎหน้าต่าง set up an ad hoc network   ทำการกำหนด network name > security  type เป็น No authentication (open) เพื่อไม่ให้ใส่ password เเล้วกด next


ทำการ connect ได้เลย